วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หอศิลป์อันดามัน

หอศิลป์อันดามัน

อาคาร 3 ชั้น จัดแสดงผลงานศิลปะที่หลากหลาย โดย ศิลปินรุ่นเยาว์ ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินเหรียญทอง และศิลปินที่มีชื่อเสียง และศิลปินแห่งชาติ    ที่มอบไว้เพื่อจัดแสดงภายในอาคาร
ชั้นที่ 1 ผลงานศิลปินรุ่นเยาว์ ลานกิจกรรม และห้องระนอง

  

ชั้นที่ 2 ผลงานศิลปินร่วมสมัยระดับเหรียญทอง รางวัลเกียรติคุณต่างๆ (ห้องตรัง และห้องพังงา) และห้องสีน้ำ จัดแสดงผลงานศิลปะสีน้ำโดยศิลปินอาเซียน

ชั้นที่ 3 ผลงานศิลปินแห่งชาติ และศิลปินนานาชาติ (ห้องภูเก็ต และห้องกระบี่ และ highlight ของที่นี่คือ ผลงานโดยศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี, อาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ, อาจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก, อาจารย์กมล ทัศนาญชลี, อาจารย์เขียน ยิ้มสิริ, อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี, อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน, อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์, อาจารย์เดชา วรชุน, อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร




วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน


พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน

       ส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ที่มีความน่าสนใจ น่าค้นหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ นั่นคือ "พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน" แหล่งเรียนรู้ด้านลูกปัดโบราณ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งจากหลักฐานการขุดพบต่างๆ พอที่จะประมาณได้ว่า เมื่อประมาณ 40,000 ปีนั้น ลูกปัดที่เก่าแก่ที่สุดนั้นทำมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ต่างๆ เช่น กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เขา งา ปะการัง เขี้ยว และฟัน คนสมัยโบราณได้นำวัตถุดิบเหล่านั้นมาขัด ฝน หรือตัดเป็นแท่งๆ จากนั้นจึงเจาะรูร้อยเพื่อใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ต่อมาได้มีการพัฒนาวัตถุดิบเป็นหินสี และในยุคเหล็ก ยุคสำริด ได้มีการหลอมโลหะมาทำเป็นลูกปัด จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันลูกปัดยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว ซึ่งลูกปัดแก้วได้รับการสันนิษฐานว่าถูกผลิตขึ้นเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว เพื่อทดแทนลูกปัดหินมีค่า เช่น หินอาเกตและคาร์เนเลียน โดยมีแหล่งผลิตลูกปัดแก้วที่สำคัญๆ อยู่ 3 แหล่ง คือ
1. อียิปต์ ( Egyptian )
2. โรมัน ( Roman )
3. กลุ่มประเทศอิสลาม ทางตะวันออกกลาง ( Islamic influenced Eastern Midditeranian )

สำหรับการสวมใส่ลูกปัดในยุคอดีตนั้น สามารถที่จะจำแนกการใช้งานได้ดังนี้

1. ลูกปัดเป็น เครื่องประดับ ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งในอดีตมนุษย์ได้นำลูกปัดมาร้อยเรียงต่อกันเพื่อประดับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น สร้อยคอ, สร้อยข้อมือ, สร้อยข้อเท้า, เจาะติดจมูก, ต่างหู, พันรอบเอว, ตกแต่งตามศรีษะ เส้นผม หรือตามความนิยมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ลพท้องถิ่น นอกจากนี้ยังหมายถึงการบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้สวมใส่ลูกปัดได้อีกด้วย
2. ลูกปัดใช้เป็น เครื่องรางของขลัง ตามความเชื่อของศาสนา สิ่งที่ผู้คนเคารพนับถือ หรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสังเกตได้จากลวดลายของลูกปัดที่มีคามหมายสื่อถึงความเชื่อ หรือสิ่งลี้ลับต่างๆ
3. ใช้เป็น เครื่องมือในการรักษาโรค ซึ่งไม่ต่างจากในสมัยนี้เท่าใดนัก ที่เคยเชื่อว่าหินสีสามารถใช้ในการบำบัดโรคต่างๆ ได้
4. ใช้ในการ แลกเปลี่ยนทางการค้าแทนเงินตรา เพราะลูกปัดมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ทั้งยังมีคุณค่าในตัวเอง ในทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา จึงนิยมใช้กัน


ลูกปัดโบราณในประเทศไทยมีการขุดพบมากมาย ทั้งหินคาร์เนเลี่ยน อาเกตหลากสี ควอทซ์ แลปิส อาร์เมทิส รวมทั้งลูกปัดแก้วแบบต่างๆ ลูกปัดได้รับความนิยมในประเทศไทยจากการทำการค้ากับอินเดียร์ อาณาจักรโรมัน รวมทั้งจีนที่ได้นำลูกปัดแก้วและดินเผาเข้ามา
ทางฝั่งภาคใต้ ย้อนไปในพุทธศวตวรรษที่ 6-7 ในยุคทวาราวดี ศรีวิชัย พบว่า อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งค้นพบลูกปัดโบราณที่สำคัญ อาทิ ลูกปัดลายแทงสวรรค์ หรือกุญแจเทพ ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปค้างคาว ซึ่งคนจีนจะเรียกว่า ฮก เป็นสัตว์วิเศษที่บินได้ เดินได้ แบะมีอายุยืน บางอันมีเขียนหรือแกะเป็นภาษาที่อยู่บนลูกปัด เรียกกันว่า "ปัลลวะ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต ที่เรียกกันนี้เกินในพุทธศวรรษที่ 11-12 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตร และยังมีลูกปัดที่มีลักษณะเป็นมังกรทำจากหยกขาว อันเป็นเครื่องรางของพระราชาหรือจักรพรรดิ ลูกปัดรูปลักษณะสรุยะเทพ ในปัจจุบันหลายคนเรียกว่าลูกปัดหน้าคนหรือลูกปัดหน้าอินเดียแดง อีกทั้งยังมีแผ่นหินคาร์เนเลียนรูปสลักผู้หญิงโรมัน ซึ่งสันนิษฐานว่าลูกปัดเหล่านี้มาจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยเข้ามากับพ่อค้าในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วและหิน ที่มีลวดลายเป็นแบบเฉพาะเช่นเดียวกับที่พบได้ที่ฝั่งตะวันออกใกล้เมืองปอนดิเชรี ของอินเดีย อีกด้วย


นอกจากนี้ทางฝั่งภาคใต้ยังค้นพบลูกปัดโบราณ ที่เมืองท่าโบราณที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ที่มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจากทางตะวันตกและตะวันออก พบลูกปัดหินอาเกต ควอตซ์ คาร์เนเลียน เอตช์คาเนเลียน และลูกปัดทองคำ และเมืองท่าในยุคต่อๆ มา ยังพบลูกปัดหินที่ทำจากอะแมทีสต์ ลูกปัดแก้วแบบต่างๆ เช่น ลูกปัดตา ลูกแห้วหลายสี มีขั้วและแบบเกลียว ซึ่งนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า อาจจะมาเมื่อครั้งทำการค้ากับชาวจีน เช่นที่เกาะคอเขา (เขาหลัก) จังหวัดพังงา อำเภอท่าชนะ และแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสทิงพระ จังหวัดสงขลา







สำหรับท่านใดที่มีความสนใจชื่นชอบ หรืออยากเที่ยว ของลูกปัดโบราณสามารถเข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ตั้งแต่เวลา 10.00-16.30 น. ทุกวัน




วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ดื่มด่ำงานศิลป์ เสพย์ความฟิน หอศิลป์อันดามัน



หอศิลป์อันดามัน ขอต้อนรับทุกท่านสู่
นิทรรศการงานศิลป์ โดยกลุ่มศิลปินชาวจังหวัดกระบี่ (กลุ่มผีทะเล) และศิลปินรับเชิญ 

ภายใต้ชื่อ Concept : Her Face & Her Soul

ที่จะเชิญชวนทุกท่าน มาพักผ่อนสบายๆ คลายร้อน ต้อนรับลมหนาว 
นอกจากจะได้เที่ยวชม ดื่มด่ำกับงานศิลปะแล้ว

ขอเชิญร่วมกิจกรรม "อ่านกวีและดนตรีรองแง็ง" 

ในวันเสาร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2559 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป
ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน 

**งานนี้เข้าชมฟรี**